เมื่อแพะกลายเป็นสุนัข
“ในการรับสาร ไม่ว่าจะฟังหรืออ่าน
ผู้รับสารต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่า ข้อความที่ฟังหรืออ่านนั้น
สมเหตุสมผลหรือไม่
เมื่อมีผู้โน้มน้าวหรือชักชวนให้ทำสิ่งใดหรือไม่ให้ทำสิ่งใด
จะต้องรู้จักวิธีหลีกเลี่ยงปฏิเสธ
เมื่อพบว่าการโน้มน้าวใจนั้นไม่ถูกต้อง”
เมื่อแพะกลายเป็นสุนัข
ใจหนึ่งก็อยากจะซื้อ ใจหนึ่งก็เสียดายเงิน คำรำพึงของใครคนหนึ่ง
ขณะที่เดินดูสินค้าอาจทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าคนเรานั้นมีสองใจ แท้ที่จริงใจ ในที่นี้คือความคิด คนเราคิดได้หลายอย่าง ถึงได้มีสำนวนว่า หลายใจ ขึ้นมา คนที่เปลี่ยนใจคือคนที่เปลี่ยนความคิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าเปลี่ยนแล้วดีขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนบ่อยๆจนไม่อยู่กับร่องกับรอย ก็คงไม่มีทางรู้ว่าเปลี่ยนแล้วจะดีหรือไม่ดี กลายเป็นคน ใจโลเล เหมือนไม้หลักปักเลนเอนไปมา คนที่เชื่อคนอื่นง่ายๆ โดยไม่ยั้งคิด ท่านว่าเป็นคน ใจเบา ราวกับ พกนุ่น ถ้าเชื่อง่าย ยินยอมง่ายๆ ให้เขาหลอกไปในทางมิดีมิร้าย คงต้องเรียกว่า ใจง่าย ส่วนคนที่ไม่เชื่อใครง่ายๆ ท่านว่าเป็นคน ใจหนักแน่นเหมือน พกหิน ทีเดียว
แต่ก็ยังไม่แน่นัก ถึงจะใจหนักแน่นเหมือนดังที่หม่อมเจ้าอิศรญาณทรงนิพนธ์ไว้ในสุภาษิตอิศรญาณ ว่า อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก แต่วรรคต่อมาท่านว่า ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว สิ่งที่ผลักมานั้น ก็คือสิ่งที่เร้าหรือโน้มน้าวใจให้เห็นประโยชน์ที่น่าจะได้รับ ถ้าได้ยินหนึ่งครั้งสองครั้งก็ยังมี ใจหนักแน่น อยู่ได้แต่ถ้ามากรอกหูซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็คงไหวไปมาแรงชักจูง การโฆษณาสินค้า ที่เซ้าซี้เราอยู่ทุกวันนี้ก็ใช่หลักเดียวกันมนุษย์มีความต้องการขั้นพื้นฐานที่ผลักดันให้คิด เชื่อ และทำสิ่งต่างๆ
ตามความต้องการความหิวผลักดันให้มนุษย์ออกไปแสวงหาอาหาร ความต้องการอยู่เป็นหมู่คณะผลักดันให้มนุษย์ทำตัวให้เหมือนคนอื่นๆ เป็นต้น คำชักชวนด้วยการโน้มน้าวใจ ว่าถ้าทำเช่นนั้นเช่นนี้แล้ว จะได้ประโยชน์หรือไม่เสียประโยชน์จึงกระทบใจมนุษย์ได้ดี
ชายหกคนในนิทานเรื่อง หนึ่งในปัญจตันตระเห็นทีจะรู้หลักนี้ดี จึงโน้มน้าวใจพราหมณ์ผู้หนึ่งหลงเชื่อว่ากำลังแบกสุนัข นิทานเล่าว่าพราหมณ์จะทำพิธีบูชายัญจึงไปหาซื้อแพะมาตัวหนึ่ง ขณะที่แบกแพะกลับบ้าน ชายหกคนเห็นเข้าก็คิดจะหลอกเอาแพะจากพราหมณ์ คนแรกยืนดักหน้าพราหมณ์แล้วทักว่าจะแบกสุนัขไปไหนพราหมณ์นึกขันตอบว่า สุนัขที่ไหนกัน แพะแท้ๆ เดินต่อไปอีกไม่กี่ก้าว ชายคนที่สองก็เข้ามาทักด้วยคำถามคล้ายๆกัน พราหมณ์ไม่ขัน และยังตอบเหมือนเดิม ไปอีกหน่อยพบชายคนที่สาม ถามอีกแล้ว คราวนี้พราหมณ์ชักลังเลวางแพะลงดูให้แน่อีกที ครั้นเห็นว่ายังเป็นแพะตัวเดิมที่ซื้อมา ก็แบกขึ้นบ่าเดินต่อไป สักพักชายคนที่สี่เดินเข้ามาหาถามว่า จะเอาสุนัขไปทำอะไร พราหมณ์ตอบว่านี่มันแพะนะจะเอาไปบูชายัญ ชายคนนั้นหัวเราะ แล้วยืนยันว่าเห็นๆอยู่ ว่าเป็นสุนัขแท้ๆ พราหมณ์ไม่ค่อยสบายใจเดินต่อมาพบชายคนที่ห้า และต่อมาอีกก็พบชายคนที่หกทักถามเหมือนกันอีกแล้ว หรือว่าแพะตัวนี้จะเป็นปีศาจ ถึงได้กลายร่างเป็นสุนัขให้ใครเห็นได้ ถ้าเราขืนแบกมันต่อไป กว่าจะถึงบ้าน มันก็คงแผลงฤทธิ์ทำร้ายเราแน่ๆคิดแล้วพราหมณ์ก็โยนแพะทิ้งแล้ววิ่งตัวเปล่ากลับบ้าน ชายทั้งหกคนจึงจับแพะไปเชือดกินกันวิธีการของชายทั้งหกคน คือโน้มน้าวใจพราหมณ์ให้เปลี่ยนความคิดและเปลี่ยนการกระทำ คือคิดว่าสิ่งที่แบกมาไมใช่แพะ และเลิกแบกต่อไป แต่เป็นการโน้มน้าวใจที่แฝงเจตนาไม่ดี ชักจูงให้เขาทำเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จึงเป็นการชักจูงทำนองเดียวกับการโฆษณาชวนเชื่อ คนที่จะตกเป็นเหยื่อของการโน้มน้าวใจในลักษณะนี้ได้ง่ายๆก็คือ "คนที่ขาดวิจารณญาณ" หลักความเชื่อในกาลามสูตรจึงสอนไว้ข้อหนึ่งว่า "อย่าถือโดยตรึกตามอาการ"ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้ว่า หมายถึง"การได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งพูดแล้ว ยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่คิดเห็นว่า ถ้าเราถืออย่างนี้จะดีกว่า แล้วเชื่อถือตามความคิดเห็นนั้น อย่างนี้เรียกว่า ถือโดยตรึกตามอาการ"
ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่อง เมื่อแพะกลายเป็นสุนัข เป็นนิทานที่นำมาจากนิทานวานบอก เล่มที่1 ของศาสตราจารย์ ดร.กุสุมา รักษมณี เป็นเรื่องที่ผู้เขียนยกมาจากนิทานปัญจตันตระเพื่อเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มักเชื่อและทำตามคำชักชวนโน้มน้าวใจ ยิ่งถ้าถูกโน้มน้าวใจซ้ำๆ ก็ยิ่งเชื่อ ดังเช่นพราหมณ์ผู้กำลังแบกแพะไปบูชายัญ เมื่อถูกชาย 6 คนที่ประสงค์จะหลอกเอาแพะจากพรามณ์ทักซ้ำๆ กันว่าแพะเป็นสุนัข พรามณ์ก็เชื่อและคิดไปว่า แพะนั้นคงเป็นปีศาจจึงกลายร่างเป็นสุนัขห้ชาย 6 คนนั้นเห็น และปีศาจแพะอาจทำร้ายตนความรักตนเองเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทำให้พราหมณ์โยนแพะทิ้ง ชาย 6 คนจึงหรอกเอาแพะได้สำเร็จ
ความรู้เรื่องนิทานปัญจตันตระ
พบกับ "นิทานปัญจตันตระ" นิทานเก่าแก่ล้ำค่าของอินเดีย 5 เล่ม ที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อเป็นอุบายสอนเจ้าชาย 3 พระองค์ที่ไม่สนใจการเรียนหนังสือตามวิธีปกติ ให้ได้รู้เรื่องที่พระราชาในอนาคตควรจะรู้ โดยนำมาผูกร้อยเป็นนิทานสนุกสนานและสอดแทรกคำสอนการปฏิบัติที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นิทานชุดนี้ ถูกนำมาถ่ายทอดต่อๆ กันไปทั่วโลกเป็นเวลาร่วม 2000 ปีมาแล้ว โดยในเล่มนี้ผู้เขียนได้ถ่ายทอดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งมีการเล่าเรื่องที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง พร้อมทั้งภาพประกอ[สวยงาม ที่ควรค่าแก่การอ่านและการเก็บรักษาเป็นอย่างยิ่ง
กลวิธีในการโน้นน้าวใจ
การ โน้มน้าวใจ คือการพยามยามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่นโดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้นทั้ง โดย วัจนภาษาคือ คำพูด ถ้อยคำ และอวัจนภาษา คือกริยาท่าทางต่างๆ จนเกิดการยอมรับ
1.แสดงให้เห็นความน่าเชื่อถือของผู้โน้นน้าวใจ
บุคลิกภาพหรือชื่อเสียงของผู้พูดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้การโน้มน้าวใจสัมฤทธิผล
2.แสดงให้เห็นถึงความหนักแน่นของเหตุผล
การแสดงเหตุผลเป็นส่วนหนึ่งในการจูงใจ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจ ทำให้เกิดความเชื่อถือและคล้อยตามได้ การให้เหตุผลจะต้องสมเหตุสมผล
3.แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกอารมณ์ร่วมกัน
บุคคลที่มีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ร่วมกัน เป็นแรงผลักดันสำคัญของมนุษย์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือประสบผลสำเร็จร่วมกัน
4.แสดงให้เห็นด้านดีและด้านเสีย
5.สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร
การโน้มน้าวใจโดยการเสนอแนะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ผู้อ่าน ใช้ความคิดก่อนที่จะเชื่อถือหรือกระทำตาม
6.เร้าให้เกดอารมณ์อย่างแรงกล้า
ภาษาเพื่อการโน้มน้าวใจ
ผู้โน้มน้าวใจควรใช้ภาษาที่มีน้ำเสียงในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน เร้าใจ โดยคำนึงถึงจังหวะและความนุ่มนวลผู้พูดต้องหาวิธีโน้มน้าวใจคนฟังให้เอนเอียงมาฝ่ายตน ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธา ไม่ควรใช้คำพูดและน้ำเสียงเด็ดขาด แข็งกระด้าง หรือกล่าวตรงไปตรงมาในเชิงตำหนิ ไม่ควรใช้น้ำเสียงในลักษณะของคำสั่งหรือการแสดงอำนาจซึ่งจะกระทบกระเทือนใจผู้รับสาร ทำให้การโน้มน้าวใจไม่บรรลุผลตามต้องการ
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงเสนอแนะ
พวกเธอควรกินผลไม้และดื่มน้ำมากๆถ้าอยากให้ผิวพรรณผ่องใส
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงขอร้อง
โรงเรียนของเรามีชื่อเสียงได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากนักเรียนถ้านักเรียนพยายามทำโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ใจดีจนชนะการประกวด โรงเรียนของเราก็จะได้ชื่อเสียงมากทีเดียว
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงวิงวอน
ลูกชายของผมมีเลือด AB เน้กกะทีฟซึ่งเป็นเลือดหายากต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออกโดยด่วน แต่สภากาชาดมีเลือดกลุ่มนี้สำรองไว้ไม่พอ ขอท่านที่มีเลือดกลุ่มนี้ โปรดช่วยชีวิตลูกชายผมด้วย ผมมีลูกชายเพียงคนเดียว เขาเป็นลมหายใจของผมขอความกรุณาติดต่อโรงพยาบาลจุฬาฯ โดยด่วน หรือติดต่อผมโดยตรงที่หมายเลข 08 1118 8811
ตัวอย่างการใช้ภาษาเชิงเร้าใจ
ถ้าพวกเธอไม่ลงแข่งโต้วาทีครั้งนี้ คงไม่มีใครกล้าลงแข่งแทนหรอก กลัวว่าถ้าแพ้แล้วจะถูกประณาม ว่าไม่เก่งจริงแล้วยังจะไปแข่งอีก แต่ถ้าพวกเธอลงแข่ง เราเชื่อว่าต้องได้ชัยชนะกลับมาแน่ๆ
การใช้วิจารณญานในการรับสารโน้มน้าวใจ
1. การวิเคราะห์ผู้อ่าน ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ วัย การศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และค่านิยม เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้อ่านจะช่วย ให้ผู้เขียนสามารถกำหนด เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
2. การใช้หลักจิตวิทยา ผู้เขียนจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเขียนโน้มน้าวใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เขียนต้องทำความเข้าใจธรรมชาติ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่าน ว่าน่าจะเป็น ไปในทิศทางใด แล้วจึงนำมาเป็นประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจต่อไป
กาลามสูตร
สาเหตุที่ทำให้พระพุทธเจ้าต้องสอนเรื่องกาลามสูตรนั้น ต้นตอไม่ได้แตกต่างจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้เลย นี่คือข้อความที่อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตรนิกาย (คัดลอกมาจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต)
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพร้อมสาวกกลุ่มใหญ่กำลังเสด็จผ่านไปยังแคว้นโกศล ผ่านไปยังนิคมของชาวกาลามะที่อยู่เมืองเกสปุตตะ ชาวเมืองกาลามะได้ยินกิตติศัพท์ของพระสมณโคดมมาก่อน[2] ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว สามารถจำแนกธรรมสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม และคำสอนของท่านก็ไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ชาวกาลามะจึงเห็นสมควรที่จะเข้าไปกราบคารวะพระพุทธเจ้า นั่งอันที่ควรและตั้งคำถามต่อพระบรมศาสด
“พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม ถึงพราหมณ์พวกนั้น ก็พูดประกาศแต่เฉพาะวาทะของตนเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจ คุณเห็นหรือไม่ว่า สิ่งที่ชาวกาลามะพูดนั้นเหมือนกับสิ่งที่กำลังทุกวันนี้ อย่างไรก็อย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบว่
“ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
2. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
3. อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้
4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
5. อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
6. อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
7. อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ
8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว
9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
ที่จริงแล้ว คำสอนในกาลามสูตรมีความยาวพอสมควรทีเดียว เนื้อหาเป็น เหมือนกับการถามตอบระหว่างชาวกาลามะกับพระบรมศาสดา แต่ยุคนี้มักยกตัดตอนแต่เรื่องอย่าปลงใจเชื่อโน่นนี่ ๑๐ ข้อเท่านั้น และไม่ได้วิเคราะห์ให้ลึกซึ้งว่าคำสอนนี้ยังเหมาะกับยุคสมัยหรือไม่
เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งใดเป็นอกุศล สิ่ง
ใดมีโทษ สิ่งใดวิญญูชนติเตียน สิ่งใดผู้ยึดถือปฏิบัติแล้ว จะ
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์เมื่อนั้นท่าน
พึงละเสีย เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งใดเป็นกุศล
สิ่งใดไม่มีโทษ สิ่งใดวิญญูชนสรรเสริญ สิ่งใดผู้ยึดถือปฏิบัติ
แล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงนับถือปฏิบัติบำเพ็ญ
หลักกาลามาสูตรทั้ง 10 ข้อดังกล่าว อธิบายเพื่อเป็นแนวทางดังนี้
1. อย่าเชื่อ เพราะได้ฟังตามกันมา ย่าเชื่อการได้ยินผู้ใดบอกเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีผู้บอกต่อๆกันมา
2. อย่าเชื่อถือ โดยลำดับสืบๆกันมา อย่านิยม ตามบรรพบุรุษของตน
3. อย่าเชื่อถือ โดยตื่นข่าวเล่าลือ อย่าเชื่อคนเป็นอันมาก เขาตื่นเต้นนับถืออะไรกัน ก็พลอยตื่นเต้นนับถือไปตามเขาบ้าง
4. อย่าเชื่อถือ โดยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ อย่าเชื่อตำรับตำราใดๆ ที่เขียนเรื่องราวอะไรไว้
5. อย่าเชื่อถือ โดยการกะหรือเก็งความจริงหรือนึกเดาเอาด้วยเหตุผลทางตรรก เมื่อได้ยินเขาพูดข้อความหรือเรื่องราวใดๆ แล้วนึกเอาในใจว่า คงจะเป็นอย่างนี้ๆแน่
6. อย่าเชื่อถือ โดยการอนุมานเอา หรือการคาดคะเน อย่าเชื่อถือเอาตามการคาดคะเน
7. อย่าเชื่อถือโดยตรึกตรองอาการ อย่าเชื่อการได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดผู้หนึ่งพูดแล้วยังไม่ทราบว่าเป้นอย่างไร แต่คิดเห็นว่า ถ้าเราถืออย่างนี้จะดีกว่า
8. อย่าเชื่อถือโดยคิดว่าถูกต้องตรงกับลัทธิ ความเห็นของตน ลัทธิของตนเคยถือมาอย่างไรเมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งมาผู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งถูกต้องตรงกับลัทธิความเชื่อถือของตนดั้งเดิม ก็ชอบใจ พอใจ แล้วเชื่อตาม ถือตาม อย่างนี้เรียกว่า เชื่อถือเพราะเชื่อใจว่า ถูกกันลัทธิของตน
9. อย่าเชื่อถือ โดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อถือได้ การได้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้ใดพูดแล้วเห็นว่า ท่านผู้พูดนี้ ท่านเป็นคนมีสติปัญญาทั้งได้เล่าเรียนศึกษามามาก
10. อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่าสมณะผู้นี้ หรือครูคนนี้เป็นครู เป็นอาจารย์ของเรา เมื่ออุปัชฌาย์ก็ดี อาจารย์ก็ดี สั่งสอนเรา อบรมเรา โดยคิดว่าบุคคลผู้นี้เป็นครู-เป็นอาจารย์ของเรา
ดังนั้น กาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้อิสระในด้านความคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เราเชื่อ แต่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยเชื่อ อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา แม้แต่พระคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิจารณา ดูเสียก่อน ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับการเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อ หรือไม่เพียงไร
เราจึงควรภูมิใจที่เราได้นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่มีเหตุผล สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ในโลกปัจจุบันไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น และเป็นไปเพื่อความ สิ้นทุกข์ในที่สุด แม้ทุกข์ยังไม่หมด แต่ก็มีความสงบสุขในชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเราได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามพุทธธรรม ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
คิดตรอง ลองทำดู
๑. นำคำต่อไปนี้ไปเเต่งเป็นข้อควา้มหรือเรื่องราวที่เเสดงความหมายของคำนั้นให้ถูกต้องเเละชัดเจน
๑) ชักชวน ชักจูง ชวนเชื่อ เชิญชวน
๒) ใจง่าย ใจเบา หลายใจ สองใจ
๒. บอกความหมายของถ้อยคำเเละสำนวนต่อไปนี้ บอกด้วยว่าใช้ในกรณีใด เเล้วนำไปเเต่งเป็นประโยค
พกนุ้น พกหิน ไม้หลักปักเลน
อย่าถือโดยตรึกตามอาการ
อันเสาหินเเปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว
๓. ประโยคที่ว่า "ใจหนึ่งก็อยากจะซื้อ ใจหนึ่งก็เสียดายเงิน" ในเรื่องที่อ่านมี ความหมายที่ตรงกับสำนวนไทยว่าอย่างไร
๔. ร่วมกันพิจารณาว่าหากตนเป็นพราหมณ์เเละต้องพบกับชายเจ้าเล่ห์ทั้ง ๖ คนจะคิดเเก้ปัญหาอย่างไร
๕.เเบ่งกลุ่มเลือกหัวข้อต่อไปนี้ นำไปคิดหาวิธีโน้มน้าวใจ อาจเขียนส่งครูหรือนำไปพูดเสนอหน้าชั้นเรียน
๑) ใช้ของไทย ซื้อของไทย ชาติไทยเจริญ
๒) รักสิ่งใดไม่สำคัญเท่ารักชาติ
๓) หญิงไทยรักนวลสงวนตัว
๔) ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อนส่วนตัว
๕) เด็กไทยร่วมใจต้านยาเสพติด
๖) สุขภาพดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง
๗) เด็กไทยลดหวาน รับประทานผัก รักออกกำลังกาย
เพิ่ม เสริมสาระ
1.แบ่งกลุ่มแข่งขันหาสำนวนที่มีคำว่า”ใจ” อยู่ด้วย กลุ่มใดหาได้มากกว่าเป็นผู้ชนะ และช่วยกันรวบรวมสำนวนที่ทุกกลุ่มเสนอพร้อมทั้งหาความหมายแล้วนำไปติดที่ป้ายนิเทศของห้องเรียนเพื่อให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน
2.แบ่งกลุ่มศึกษาความรู้ตามหัวข้อที่กำหนดจากนิทานอีสป นิทานชาดก นิทานพื้นบ้านที่มีคติสอนใจ จัดทำเป็นหนังสือ หนังสือการ์ตูน หรือบทความเวียนกันอ่าน
1)การผูกมิตร
2)การขาดความยั้งคิด
3)การสูญลาภ
แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
จากบทเรียนภาษาไทย วิวิธภาษา เรื่องเมื่อแพะกลายเป็นสุนัข
JJJJJJ
คำสั่ง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. เรื่องเมื่อแพะกลายเป็นสุนัขเป็นนิทานที่นำมาจากนิทานอะไร
ก. นิทานวานบอก
ข. นิทานอีสป
ค. นิทานพื้นบ้าน
ง. นิทานอินเดีย
2. . เรื่องเมื่อแพะกลายเป็นสุนัขใครเป็นผู้แต่ง
ก. ผอ. สุพัฒน์
ข. กระทรวงศึกษาธิการ
ค. นายกยิ่งลักษ์
ง. ดร.กุสุมา
3. นิทานปํญจตันตระเป็นนิทานที่แต่งขึ้นมาแล้วกี่ปี
ก. 1500ปี
ข. 1222ปี
ค. 1588ปี
ง. 1485ปี
4. มีชายกี่คนที่หลอกเอาแพะจากพราหมณ์
ก. 5คน
ข. 3คน
ค. 6คน
ง. 4คน
5. วรรณนากาลามสูตรมีข้อห้ามกี่ข้อ
ก. 12ข้อ
ข. 10ข้อ
ค. 15ข้อ
ง. 13ข้อ
6. ใครเป็นคนนิพนธ์วรรณนากาลามสูตร
ก. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ข. พระเจ้าตากสินมหาราช
ค. พระพุทธเจ้า
ง. พระยาวชิยาน
7. ปุจฉา แปลว่าอะไร
ก. คำถาม
ข. คำตอบ
ค. ไม่มีข้อถูก
ง. ถูกทุกข้อ
8. พราหมณ์จะนำแพะไปทำอะไร
ก. ไปทำอาหาร
ข. ไปบูชายัญ
ค. ไปเลี้ยง
ง. ไปขาย
9. ภาษาโน้มน้าวใจต้องใช้ภาษาเชิงอะไร
ก. เชิงขอร้อง
ข. เชิงวิงวอน
ค. เชิงเร้าใจ
ง. ถูกทุกข้อ
10. “พวกเธอควรกินผลไม้และดื่มน้ำมากๆถ้าอยากให้ผิวพรรณผ่องใส” เป็นภาษาโน้มน้าวใจใน ข้อใด
ก. เชิงขอร้อง
ข. เชิงวิงวอน
ค. เชิงเร้าใจ
ง. เชิงเสนอแนะ
11. หม่อมเจ้าอิศรญาณทรงนิพนธ์สุภาษิตอิศรญาณตามข้อใด
ก. อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลักแต่ถ้าไปมาผลักเสายังไหว
ข. อันเสาใหญ่ตอกไว้ผลักไปมาเสายังไหว
ค. อันเสาเล็กตอกไว้ผลักไปมาเสายังไหว
ง. อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นผืนแต่ถ้าไปมาผลักเสายังไหว
12. นิทานวานบอกเป็นเล่มที่เท่าใดของดร.กุสุมา
ก. เล่มที่1
ข. เล่มที่2
ค. เล่มที่3
ง. เล่มที่4
13. วิสัชนา แปลว่าอะไร
ก. คำถาม
ข. คำตอบ
ค. ไม่มีข้อถูก
ง. ถูกทุกข้อ
14. นิทานปํญจตันตระเป็นนิทานที่แต่งขึ้นมาแล้วกี่ภาษา
ก. 40ภาษา
ข. 50ภาษา
ค. 60ภาษา
ง. 70ภาษา
15. “ไม่ควรใช้สำหรับคนบางกลุ่ม” เป็นกลวิธีโน้มน้าวใจข้อใด
ก. ให้ข้อมูลแต่ด้านดี ไม่พูดถึงด้านเสีย
ข. แสดงให้เห็นทางเลือก
ค. แสดงเหตุผลที่หนักแน่น
ง. ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน